บทความ

Phonemic Awareness สิ่งที่ผู้เรียน Jolly Phonics ควรรู้ก่อน

การสอนทักษะ Phonemic Awareness

      ให้ลูกเริ่มต้นฝึกภาษาอังกฤษอย่างไร เพื่อสามารถออกเสียงตามโฟนิกส์ได้

phonicsis_phonics_courses_krubow
      : แนะนำ Phonemic Awareness สิ่งที่ผู้เรียน Jolly Phonics ควรรู้ก่อน การสอนทักษะ Phonemic Awareness ( การรับรู้หน่วยเสียงย่อย ) : แนวทางปฏิบัติง่ายๆสำหรับผู้ปกครองและคุณครูผู้สอน
Phonemic Awareness (การรับรู้หน่วยเสียงย่อย) คืออะไร
phonics_flashcard_krubow

      คนส่วนใหญ่รู้ว่าภาษาอังกฤษมี 26 ตัวอักษร (A-Z) แต่คนส่วนน้อยเท่านั้นที่รู้ว่า 26 ตัวอักษรนี้เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงแทนเสียงในระบบการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งมีมากถึง 44 เสียง อ้างอิงตามระบบ IPA (International Phonetic Alphabet) ดังนั้น คำว่า “ Phonemic Awareness ” จึงถูกนำมาใช้อธิบายความสามารถในการได้ยิน, ระบุ, จำแนกและจัดการกับเสียง 44 เสียงในภาษาพูด ช่วงแรกเด็กอาจจะยังไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ แต่พวกเขาควรจะสนใจฟังเสียงพูด อย่างตั้งอกตั้งใจ

ข้อดีของ Phonemic Awareness (การรับรู้หน่วยเสียงย่อย) ในเด็กเล็ก
      คุณพ่อ คุณแม่อาจเคยได้ยินว่าเด็กๆวัยหัดเดินหรือวัยเตรียมอนุบาล สามารถอ่านได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว นั่นก็เป็นเพราะพวกเขามีทักษะ Phonemic Awareness ที่พัฒนาเร็วกว่าเด็กคนอื่นๆ phonics_courses       Dr. Marilyn Adams ผู้เชี่ยวชาญด้าน Phonemic Awareness  กล่าวว่า  ทักษะนี้คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการประสบความสำเร็จด้านการอ่านได้อย่างรวดเร็ว
ยกตัวอย่างเช่น แม่: This is a mat. /mmmmmmmmm/ mat /t/ อึมมมมมมม แมท ถึ เด็ก: อ่าา แม่คะหนูได้ยินเสียง /mmmmmm/ ของคำว่า MAT แล้วก็ได้ยินเสียง ’t’ ท้ายคำ หนูนึกออกแล้ว! คำว่า MAT และ MAN ก็ขึ้นต้นด้วยเสียง /mmmmmm/ อึมมมมมม เหมือนกัน
phonics_courses_krubow
      ถ้าเด็กสามารถเล่นกับเสียงในภาษาพูดได้แบบนี้ เมื่อถึงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่สอนตัวอักษร ABCs ให้กับลูก พวกเขาจะสามารถเรียนรู้มันได้อย่างง่ายดายและจะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเสียงกับตัวอักษรที่พวกเขากำลังพบเห็นได้ง่ายขึ้น นี่จึงแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ ‘ความสามารถในการอ่าน’ นั่นเอง       ดังนั้นมันจึงไม่สำคัญว่าลูกของคุณจะอายุ 2 ปีหรือ 4 ปี เพราะคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้พวกเขาพัฒนาทักษะนี้ได้ง่ายๆ เพียงแค่พูดคุยกับลูกในชีวิตประจำวัน และฝึกให้อ่านด้วยวิธีการเล่นเพื่อเสริมทักษะให้กับเขาได้
The building blocks of Phonemic Awareness2
5 ทักษะ Phonemic Awareness ( การรับรู้หน่วยเสียงย่อย ): ตัวอย่างและวิธีสนุกๆที่จะช่วยสอนทักษะเหล่านี้ให้กับเด็กๆ
      ทักษะ  Phonemic  Awareness ประกอบด้วย  5  ทักษะที่แตกต่างกัน  ซึ่งเด็กจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจอย่างละเอียด  เพื่อที่จะเป็นผู้อ่านที่ประสบความสำเร็จในอนาคต ประกอบด้วย

1.Identification & Isolation (การระบุและแยกแยะเสียง) 2.Blending (การผสมเสียง) 3.Segmenting (การแยกเสียง) 4.Addition & Subtraction (การเพิ่มและลบเสียง) 5.Substitution (การแทนที่เสียง)

      ทักษะเหล่านี้จะช่วยสร้างความชำนาญและพัฒนาทักษะการอ่านใหักับลูกๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่สอดแทรกทักษะเหล่านี้ระหว่างการสนทนากับลูกหรือในช่วงเวลาการอ่าน เพียงเท่านี้ ลูกๆก็จะค่อยๆรับรู้และเข้าใจทักษะเหล่านี้ได้โดยอัตโนมัติ!
      วิธีการง่ายๆคือ เลือกคำศัพท์ภาษาอังกฤษ วันละ 3-5 คำ โดยเน้นสอนเพียงแค่ 1 หรือ 2 ทักษะเท่านั้น ซึ่งเราจะมาดูกันว่าทักษะสำคัญ 5 อย่างที่กล่าวไปข้างต้นนั้นคืออะไร และเราจะช่วยเสริมทักษะเหล่านี้ให้กับเด็กๆได้อย่างไร

1.IDENTIFICATION & ISOLATION

      Identification & Isolation คือความสามารถในการระบุและแยกแยะหน่วยเสียงย่อยว่าอยู่ส่วนไหนของคำ
ตัวอย่าง       ลูกของคุณควรจะระบุได้ว่า BAT ขึ้นต้นด้วยเสียง /b/ เบอะ คุณสามารถสอนการระบุและแยกแยะหน่วยเสียงย่อยได้อย่างไร       เลือกคำมาวันละ 2-3 คำในขณะที่กำลังพูดคุยกับลูกหรือขณะที่เขากำลังอ่าน โดยพยายาม
      • เน้นไปที่เสียงต้นของคำ
      • เน้นไปที่เสียงท้ายของคำ
      • พูดคุยเกี่ยวกับความเหมือนและความต่างของเสียงในแต่ละคำ
phonics_courses_krubow
phonics word
ตัวอย่างเช่น คุณแม่ : Look! There is an aaaaaant.             : The rrrrrrrrrrrrat can rrrrrrrrap. ลูกสังเกตหรือไม่ว่าคำว่า ‘rat’ และ ‘rap’ ขึ้นต้นด้วยเสียง rrrrrr เหมือนกัน เมื่อผู้ปกครองทำให้ลูกมีส่วนร่วมในการสนทนาเช่นนี้
  • ลูกสามารถเพิ่มการรับรู้หน่วยเสียงย่อยด้วยวิธีที่สนุกสนาน
  • ลูกสังเกตความเหมือน และความต่างของเสียงได้ด้วยตนเองและเป็นธรรมชาติมากขึ้น

2.BLENDING

      Blending คือความสามารถในการผสมเสียงเพื่ออ่านออกเป็นคำ ตัวอย่าง       ลูกของคุณจะสามารถสะกดคำว่า ‘BAT’ ได้ถ้าเขารู้ว่าต้องรวมเสียง /b//a/ /t/ เบอะ แอะ ถึ แบทถึ เข้าด้วยกัน.
phonics BLENDING
      ทักษะนี้เป็นทักษะสำคัญที่ช่วยให้ลูกสามารถอ่านได้อย่างคล่องแคล่ว เพราะเมื่อเขาสามารถผสมเสียงอ่านเป็นคำได้ ก็จะทำให้การอ่านเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นตามไปด้วย คุณสามารถสอนการผสมเสียงได้อย่างไร     จะใช้ทักษะดังต่อไปนี้สอนควบคู่กัน

3.SEGMENTING

      Segmenting นั้นมีความหมายตรงกันข้ามกับ Blending ซึ่งก็คือการแยกเสียงของคำออกเป็นหน่วยเสียงย่อยที่เล็กที่สุด ตัวอย่าง       ลูกของคุณสามารถแยกเสียงของคำว่า BAT ออกเป็นเสียง /b/ /a/ /t/ ทักษะนี้จะช่วยให้ลูกของคุณสามารถสะกดคำได้ รวมไปถึงเรียนรู้คำใหม่ๆและไม่คุ้นเคยได้ คุณสามารถสอนการผสมและแยกหน่วยเสียงย่อยได้อย่างไร       เลือกคำมาหนึ่งชุดเพื่อสอนการผสมเสียงและแยกเสียง วิธีง่ายๆในการสอนก็คือการยกนิ้วของคุณขึ้นทีละนิ้วในขณะที่ออกเสียง เพื่อให้ลูกของคุณเห็นและนับจำนวนเสียงในคำได้!
phonic word 2
ตัวอย่างเช่น       If you see an ant crawling by, you can say…..       Look! There is an ‘/a/ /n/ /t/ – ANT’ (อย่าลืมยกนิ้วของคุณและนับเสียง) เมื่อคุณเลือกคำที่จะแยกเสียงและผสมเสียง จะช่วยให้คุณสามารถ….
  • เพิ่มการรับรู้ด้านเสียงให้กับลูกของคุณ
  • ช่วยให้ลูกของคุณเข้าใจว่าเสียงสามารถนำมาผสมรวมกันให้กลายเป็นคำได้และก็แยกออกมาเป็นเสียงได้ด้วย ซึ่งส่ิงนี้เป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยในเรื่องการสะกดคำและการอ่าน
หมายเหตุการแยกคำออกมาเป็นเสียง 3 เสียงเช่น /a/ /n/ /t/ คือการแยกเสียง (segmenting) ในขณะที่การรวมเสียง 3 เสียงเข้าด้วยกันให้กลายเป็นคำคือการผสมเสียง (blending)
phonics word

4.ADDITION AND SUBTRACTION

      Addition and Subtraction คือการเพิ่มเสียงและการลบเสียงเพื่อสร้างคำใหม่ ตัวอย่าง       ลูกของคุณควรรู้ว่าถ้าเราเพิ่มเสียง /d/ ดึ   ที่ท้ายคำว่า ‘BAN’ ก็จะเกิดเป็นคำใหม่คือ ‘BAND’ แต่ถ้าคุณตัด /b/ เบอะ ออกจากคำว่า ‘BAND’ ก็จะได้คำใหม่คือ ‘AND’ เป็นต้น คุณจะสอนการเพิ่มเสียงและตัดเสียงได้อย่างไร       เพียงแค่คุณเพิ่มเสียงและลบเสียงจากคำที่คุณสนทนากับลูกในชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อเขาเริ่มคุ้นเคยกับมันและเริ่มสร้างคำใหม่ได้ การอ่านและการสะกดคำจะกลายเป็นเรื่องง่ายและน่าสนุกสำหรับเขาเลยทีเดียว

5.SUBSTITUTION

      Substitution คือความสามารถในการแทนที่เสียงด้วยเสียงอื่นเพื่อสร้างคำใหม่ ตัวอย่าง

ถ้าคุณแทนที่เสียง /b/ ในคำว่า BAT ด้วย /r/ ก็จะได้คำว่า RAT. แต่ถ้าคุณแทนที่ /r/ ในคำว่า RAT ด้วย /m/ คุณก็จะได้คำว่า MAT.

phonics word
คุณจะสอนการแทนที่เสียงได้อย่างไร       เลือกคำมา 2-3 คำในขณะที่ลูกของคุณกำลังอ่านและแทนที่เสียงเพื่อสร้างคำใหม่ โดยพยายามทำให้ลูกของคุณรู้สึกเหมือนกำลังเล่นเกมส์จะดีมากๆ  แนะนำให้คุณสร้างคำที่ตลกๆหรือไร้สาระ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับเขา โดยคุณอาจให้เขาลองสร้างคำใหม่ดูบ้าง รับรองได้ว่าเขาจะอยากมีส่วนร่วมขึ้นมาทันที เพราะว่าเด็กๆมักจะชอบเรื่องตลกและไม่ค่อยมีสาระสักเท่าไหร่
ตัวอย่างเช่น

แทนที่เสียง/b/ ในคำว่า BAT ด้วย /n/ NAT หรือ /z/ ZAT.

ในจุดนี้ ไม่ต้องไปคำนึงถึงการสร้างคำที่ถูกต้อง เพราะเราต้องการดึงดูดความสนใจของเด็กด้วยการสร้างเสียงหัวเราะ

top5 phonological Awareness skills

ความแตกต่างระหว่าง Phonological Awareness (การรับรู้ระบบเสียง) และ Phonemic Awareness (การรับรู้หน่วยเสียงย่อย)

      หลายคนมักจะสับสนระหว่างคำว่า Phonemic Awareness และ Phonological Awareness และมักจะใช้สลับกันเนื่องจากสองคำนี้มีความหมายที่คล้ายคลึงกันมาก แต่ในความเป็นจริงนั้นมันแตกต่างกันอยู่มากทีเดียว

ความแตกต่าง

      Phonological Awareness เป็นทักษะการรับรู้ที่เกี่ยวข้องกับทั้งเสียงและหน่วยเสียงในภาษาพูด ในขณะที่ Phonemic Awareness เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของ Phonological Awareness และจะเกี่ยวข้องกับเสียงเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยเสียงในภาษาพูด  อธิบายอย่างง่ายๆก็คือ ลองจินตนาการถึงบ้านหนึ่งหลัง ถ้าบ้านคือ Phonological Awareness ห้องต่างๆภายในบ้านก็คือ Phonemic awareness นั่นเอง
ตัวอย่างของ Phonemic Awareness และ Phonological Awareness       ถ้าคุณพูดว่าคำว่า ‘sat’ ลงท้ายด้วยเสียง /t/ แสดงว่าคุณกำลังเกี่ยวข้องกับเสียง /t/ เพียงเสียงเดียวเท่านั้น เรียกว่า ‘phoneme identification’ (การระบุหน่วยย่อยของเสียงในภาษาพูด) ซึ่งก็คือ 1 ใน 5 ทักษะของ Phonemic Awareness ในขณะเดียวกัน Phonemic Awareness ก็คือหนึ่งในหลายๆทักษะของ Phonological Awareness       ถ้าคุณพูดว่าคำว่า ‘sat’ และคำว่า ‘bat’ ลงท้ายด้วย ‘at’ แสดงว่าคุณกำลังเกี่ยวข้องกับเสียง 2 เสียง คือ ‘a’ และ ‘t’ ซึ่งคือ ‘หน่วยเสียง’ เนื่องจากประกอบด้วยเสียงมากกว่าหนึ่งเสียง ส่ิงนี้เรียกว่า ‘identifying the rime’ (การระบุเสียงที่เหลือในคำ) ซึ่งก็คือหนึ่งในหลายๆทักษะของ Phonological Awareness เช่นกัน
บทสรุป
  • Phonemic Awareness (การรับรู้หน่วยเสียงย่อย) คือความสามารถในการได้ยิน, ระบุ, จำแนก และจัดการกับเสียง 44 เสียงในภาษาพูด 
  • เป็นทักษะทางการได้ยิน เน้นไปที่เสียงที่เราได้ยินเท่านั้น ไม่ได้เน้นที่ตัวอักษรที่เราเห็น ดังนั้นเด็กๆจึงอาศัยแค่หูของพวกเขาในการฟัง
  • ทักษะที่สำคัญของ Phonemic Awareness มีอยู่ 5 ทักษะซึ่งเด็กจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และพัฒนา เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้อ่านที่ประสบความสำเร็จในอนาคต ประกอบด้วย

1.Identification & Isolation – การระบุเสียงในคำ

2.Blending – การผสมเสียง

3.Segmenting – การแยกเสียงของคำออกเป็นหน่วยเสียง

4.Addition & Subtraction – การเพิ่มและลดเสียงเพื่อสร้างคำใหม่

5.Substitution – การแทนที่เสียงเพื่อสร้างคำใหม่

Phonemic awareness เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของทักษะที่เรียกว่า Phonological Awareness ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับทั้งเสียงและหน่วยเสียงในภาษาพูด ในขณะที่ Phonemic awareness จะเกี่ยวข้องกับหน่วยเสียงในภาษาพูดอย่างเดียวเท่านั้น

ซึ่งใน Engbrain นั้น ครูโบว์จะใช้ทักษะทั้ง 5 ขั้นนี้ในการสอนเลยค่ะ (แม้ว่าหลักการของ Jolly Phonics ที่ Engbrain ใช้นั้น จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเพียง 3 ทักษะแรกก็ตาม) ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษสามารถเข้าใจและฝึกฝนทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

สำหรับคนที่อยากทราบว่า Jolly Phonics คืออะไร และทำไมครูโบว์ถึงเลือกใช้ ก็คลิกเข้าไปอ่านได้เลยนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก lurnsmart.com

บทความน่าสนใจอื่นๆ